นายสุรศักดิ์ สุทองวัน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม 2565 มียอดการขายรวมทั้งสิ้น 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,365 คัน เพิ่มขึ้น 45.1% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 46,090 คัน เพิ่มขึ้น 17.9% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ มีจำนวน 34,962 คัน เพิ่มขึ้น 16.1%
ประเด็นสำคัญ
ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม 2565 มีปริมาณการขาย 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 45.1% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 17.9% เนื่องจากได้ร้บแรงส่งจากแคมเปญส่งเสริมการขายในช่วงงานมหกรรมยานยนต์ในช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างทยอยส่งมอบรถที่ได้รับจองให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น ในการดำเนินชีวิตอย่างปลอดภัยท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 ที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์อาจมีความผันผวน เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัส COVID 19 โดยไวรัสสายพันธุ์ใหม่ "โอมิครอน" ที่ติดง่าย และแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ตัวเลขผู้ติดเชื่อมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ และความเชื่อมั่นผู้บริโภคให้ชะลอตัวลงอีกครั้ง แต่ยังมีปัจจัยบวกจากการส่งมอบรถค้างจองที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการดำเนินกิจกรรมการตลาด และการแนะนำรถรุ่นใหม่ช่วยกระตุ้นตลาดรถยนต์ให้มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความต้องการมีรถยนต์ส่วนตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ระบบขนส่งสาธารณะซึ่งอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยผลักดันอัตราการเจริญเติบโตของตลาดรถยนต์ด้วยอีกทางหนึ่ง
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม 2565
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 69,455 คัน เพิ่มขึ้น 25.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 22,149 คัน | เพิ่มขึ้น 24.7% | ส่วนแบ่งตลาด 31.9% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 15,426 คัน | เพิ่มขึ้น 1.2% | ส่วนแบ่งตลาด 22.2% |
อันดับที่ 3 ฮอนด้า | 8,525 คัน | เพิ่มขึ้น 50.7% | ส่วนแบ่งตลาด 12.3% |
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,365 คัน เพิ่มขึ้น 45.1%
อันดับที่ 1 ฮอนด้า | 6,153 คัน | เพิ่มขึ้น 35.9% | ส่วนแบ่งตลาด 26.3% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 5,450 คัน | เพิ่มขึ้น 7.4% | ส่วนแบ่งตลาด 23.3% |
อันดับที่ 3 มาสด้า | 2,061 คัน | เพิ่มขึ้น 15.9% | ส่วนแบ่งตลาด 8.8% |
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 46,090 คัน เพิ่มขึ้น 17.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 16,699 คัน | เพิ่มขึ้น 31.6% | ส่วนแบ่งตลาด 36.2% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 15,426 คัน | เพิ่มขึ้น 1.2% | ส่วนแบ่งตลาด 33.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 2,861 คัน | เพิ่มขึ้น 35.6% | ส่วนแบ่งตลาด 6.2% |
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)
ปริมาณการขาย 34,962 คัน เพิ่มขึ้น 16.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า | 14,364 คัน | เพิ่มขึ้น 36.9% | ส่วนแบ่งตลาด 41.1% |
อันดับที่ 2 อีซูซุ | 14,143 คัน | ลดลง 0.4% | ส่วนแบ่งตลาด 40.5% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 2,850 คัน | เพิ่มขึ้น 45.9% | ส่วนแบ่งตลาด 8.2% |
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,761 คัน
โตโยต้า 2,243 คัน - อีซูซุ 1,326 คัน – มิตซูบิชิ 694 คัน – ฟอร์ด 396 คัน – นิสสัน 102 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 30,201 คัน เพิ่มขึ้น 17%
อันดับที่ 1 อีซูซุ | 12,817 คัน | เพิ่มขึ้น 0.4% | ส่วนแบ่งตลาด 42.4% |
อันดับที่ 2 โตโยต้า | 12,121 คัน | เพิ่มขึ้น 42.3% | ส่วนแบ่งตลาด 40.1% |
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ | 2,156 คัน | เพิ่มขึ้น 50.6% | ส่วนแบ่งตลาด 7.1% |
COMMENTS